การใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คืออะไร?

การใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คืออะไร?

การรักษามะเร็งในปัจจุบันมีหลายวิธี แต่หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพสูง คือ การใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ออกแบบมาเพื่อรักษาเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติในร่างกายมากนัก ในบทความนี้เราจะมาศึกษาความหมาย หลักการทำงาน ประเภทของยา ข้อดี และขข้อจำกัดของยามุ่งเป้ากัน

ความหมายและหลักการของการใช้ยามุ่งเป้า – ยามุ่งเป้า คือการรักษามะเร็งที่ใช้ยาที่มีความจำเพาะเจาะจงสูง โดยมุ่งเน้นไปที่เซลล์มะเร็งที่มีความผิดปกติของยีนหรือตัวรับที่กลายพันธุ์ – การใช้ยานี้ทำให้สามารถโจมตีเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ทำร้ายเซลล์ปกติในร่างกาย

ชนิดของยามุ่งเป้า 1. ยามุ่งเป้าชนิดโมเลกุลขนาดเล็ก – รูปแบบของยาเหล่านี้มักเป็นยาชนิดรับประทาน – ทำงานโดยเข้าสู่เซลล์มะเร็งและยับยั้งการทำงานของโมเลกุลที่จำเพาะ – เป็นที่นิยมใช้รักษามะเร็งปอด

  1. ยามุ่งเป้าชนิด Monoclonal Antibody – เป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ – ทำงานโดยการยับยั้งโปรตีนหรือตัวรับบนผิวเซลล์มะเร็ง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมะเร็ง

ข้อดีและผลลัพธ์ของการใช้ยามุ่งเป้า – มียาตัวนี้มีผลข้างเคียงน้อยกว่า ยาเคมีบำบัด ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพและควบคุมโรคได้ดี – ผู้ป่วยที่มีการกลายพันธุ์ของยีนที่จำเพาะสามารถตอบสนองต่อการรักษาได้สูงถึง 70-80% – ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การใช้ยามุ่งเป้าในมะเร็งปอด – มักใช้ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR (Epidermal Growth Factor Receptor) หรือ ALK (Anaplastic Lymphoma Kinase) – ยาที่นิยมใช้สำหรับรักษามะเร็งปอด ได้แก่ Gefitinib, Erlotinib, Afatinib และ Osimertinib

ข้อจำกัดและผลข้างเคียง – ยามุ่งเป้าแต่ละตัวถูกออกแบบมาให้จำเพาะกับความผิดปกติของยีนที่แตกต่างกัน – ความจำเป็นในการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) ก่อนการรักษา – แม้ว่าจะมีผลข้างเคียงน้อย แต้ยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้, เช่น ผื่นผิวหนังหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

การใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น – สามารถใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและระยะของโรค

สรุป การใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) เป็นทางเลือกการรักษามะเร็งที่มีความจำเพาะ และสามารถลดผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติได้ดีกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ถึงแม้ว่าเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพก่อนเริ่มการรักษา.