โภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร: อาหารที่ควรและไม่ควรทาน

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร: อาหารที่ควรและไม่ควรทาน

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคที่มีความซับซ้อน และการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยมีความสำคัญอย่างยิ่ง หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยในกระบวนการรักษาคือโภชนาการที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร การเลือกอาหารที่เหมาะสมสามารถช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอ ซึ่งช่วยให้รับมือกับการรักษาได้ดียิ่งขึ้น

ในบทความนี้ เราจะพูดถึงประเภทของอาหารที่ควรและไม่ควรทาน สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร

อาหารที่ควรทาน

อาหารหลัก – อาหารอ่อนนุ่มและเคี้ยวง่าย เช่น: – ก๋วยเตี๋ยวน้ำ – ข้าวต้ม – กระเพาะปลา – โจ๊ก – ปลานึ่ง – ไข่ตุ๋น – แกงจืดต่างๆ – ต้มจับฉ่าย – ไข่เจียวนิ่มๆ (ใช้น้ำมันน้อย) – เต้าหู้ทรงเครื่อง – มักกะโรนีชีส – มันฝรั่งบด – ซุป – สตูว์

ของว่าง – ของว่างที่มีลักษณะนิ่ม เช่น: – วุ้น – แพนเค้ก – ตะโก้ – สังขยาฟักทอง – ไข่หวาน – ทองหยอด – สาคูเปียก – ลอดช่อง – ฟักทองแกงบวด – ขนมเปียกปูน – ขนมฟักทองนึ่ง – กล้วยเชื่อมนิ่มๆ – ไอศกรีมเชอร์เบท – พุดดิ้ง – โยเกิร์ต – เต้าฮวย – เนยถั่วแบบครีม – คัสตาร์ด

เครื่องดื่ม – ฝนเครื่องดื่มที่มีน้ำมากๆ เช่น: – มิลค์เชค – สมูทตี้ – น้ำเปล่า – เกลือแร่ผง (ORS)

ผลไม้ – ผลไม้ที่อ่อนนุ่ม ได้แก่: – กล้วย – มะละกอ – มะม่วงสุก – แก้วมังกร – แตงโม

อาหารที่ไม่ควรทาน

อาหารที่ระคายเคือง – หลีกเลี่ยงอาหารหรือของเหลวที่ระคายเคืองช่องปาก เช่น: – ส้ม – มะนาว – อาหารรสเผ็ดจัด – เค็มจัด – ผักที่ไม่ได้ทำให้สุก – อาหารที่ร้อนจัด

อาหารที่ทำให้อาการท้องเสีย – หลีกเลี่ยง: – นมและผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ในช่วงนี้ – อาหารมัน, ของทอด – ผักดิบ เช่น บรอกโคลี, ข้าวโพด, ถั่ว, กะหล่ำปลี, ดอกกะหล่ำ – อาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นเกินไป เช่น ชา, กาแฟ, ช็อกโกแลต, น้ำอัดลม

ข้อแนะนำทั่วไป

การรับประทานอาหาร – แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และรับประทานอาหารบ่อยครั้ง – รับประทานอาหารที่มีความเย็น หรือตามอุณหภูมิห้อง – ดื่มน้ำ หรือของเหลวจากหลอด – ใช้ช้อนขนาดเล็กกว่าปกติ

การดูแลช่องปาก – จิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยลดอาการปากแห้ง – เลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะนิ่ม – อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำลาย – ทาริมฝีปากด้วยลิปบาล์มหรือสีผึ้ง

การดูแลอาการเบื่ออาหาร – รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง – พยายามดื่มน้ำหรือของเหลวที่มีส่วนประกอบของน้ำมากๆ – หากไม่สามารถรับประทานอาหารตามปกติ อาจรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุปหรือน้ำผลไม้

การรับประทานอาหารที่หลากหลาย และเหมาะสมกับร่างกายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษาได้อย่างมาก ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารจึงควรให้ความสำคัญกับโภชนาการในช่วงรักษา เพื่อให้ร่างกายคืนสภาพได้เร็วขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น.